CSR POLICY
วันหยุดและเกณฑ์การหยุด
-
วันหยุดประจำสัปดาห์
1.1 หยุดทุกวันอาทิตย์ แต่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ และเพื่อความเหมาะสมในบางตำแหน่งบริษัทฯ สงวนที่จะเปลี่ยนแปลงวันหยุด
ประจำสัปดาห์ได้โดยจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน
1.2 พนักงานบางสายงาน บริษัทฯ อาจกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์เป็นวันใดก็ใดให้มีวันหยุดสัปดาห์ละ 1 วันหลังจากทำงาน
ไม่เกิน 6 วันและอาจต้องสับเปลี่ยนหมุนเวียนหยุดตามความเหมาะสมและจำเป็น
-
วันหยุดตามประเพณี บริษัท ฯ กำหนดให้มีวันหยุดตามประเพณีปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดได้ตาม
โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วยและพนักงานจะได้รับค่าจ้างเท่ากับในวันทำงาน ซึ่งบริษัทฯ จะประกาศให้ทราบล่วงหน้าภายใน
เดือนธันวาคมของทุกปีตามความเหมาะสมในแต่ละปี ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุด
ตามประเพณีวันนั้นไปหยุดในวันทำงานถัดไป ในกรณีที่บริษัทฯไม่อาจให้พนักงานหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากพนักงานทำงาน
ที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฏกระทรวง บริษัทฯจะจัดวันหยุดให้ในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือ
บริษัทฯจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้
-
วันหยุดพักผ่อนประจำปี
3.1 พนักงานที่ทำงานกับบริษัทฯมาจนครบหนึ่งปีติดต่อกัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน
โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับในวันทำงาน
3.2 พนักงานมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ตามวันที่พนักงานต้องการและตามความเหมาะสม
3.3 บริษัทฯไม่มีนโยบายให้พนักงานสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปี ดังนั้นพนักงานจะต้องใช้สิทธิให้หมดในแต่ละปีนั้นๆ
3.4 พนักงานที่ไม่ใช้สิทธิการลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปีได ทางบริษัทจะชดเชยผลตอบแทนเป็นค่าจ้างรายวันตามจำนวนวันที่เหลือ
3.5 พนักงานจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าด้วยตัวเองอย่างน้อย 3 วัน และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงหยุดงานได้
-
การลากิจ
4.1 พนักงานรายเดือนหากมีความจำเป็นที่ต้องลากิจ จะขอลากิจได้ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน
4.2 พนักงานรายวันหากมีความจำเป็นที่ต้องลากิจ จะขอลากิจได้ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง 3 วัน (พระราชบัญญัติ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7). พ.ศ. 2562)
4.3 การลากิจล่วงหน้า พนักงานจะต้องยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
4.4 การลากิจฉุกเฉิน กรณีเหตุสุดวิสัยต้องโทรแจ้งผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายบุคคลในโอกาสแรกที่จะทำได้
4.5 การลากิจทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อนเสมอ, การลาแต่ละครั้งลาได้ไม่เกิน 3 วัน และห้ามลาติดกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่หยุดติดต่อกันหลายวัน (ยกเว้นมีเหตุจำเป็นและผู้บังคับบัญชาอนุมัติ)
-
การลาป่วย
5.1 ในกรณีที่เจ็บป่วยจนไม่สามารถจะมาทำงานได้ ให้พนักงานโทรศัพท์แจ้งผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือแจ้งฝ่ายบุคคลให้ทราบภายในวันที่ป่วย
5.2 พนักงานมีสิทธิขอลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างปีละไม่เกินสามสิบวันทำงาน
5.3 พนักงานต้องเขียนใบลางานในวันแรกที่กลับมาทำงานพร้อมทั้งแนบใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง (ใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาล)ให้ผู้บังคับบัญชาอนุมัติการลาแล้วมาส่งให้ฝ่ายบุคคล
5.4 หากพนักงานแจ้งข้อความเท็จในการลาป่วย จะถือเป็นการขาดงาน อีกทั้งยังถือเป็นความผิดทางวินัย บริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างเฉพาะที่ป่วยจริงและมีใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลเท่านั้น โดยพนักงานต้องโทรมาลางานกับหัวหน้างานหรือฝ่ายบุคคลก่อนทุกครั้ง
-
การลาคลอด
การลาคลอด พนักงานหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาคลอดได้ ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน (โดยรวมวันหยุดด้วย) และมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
เท่ากับจำนวนวันที่ลาตามอัตราค่าจ้างที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 45 วัน โดยนับติดต่อกัน ส่วนอีก 49 วันหลังให้ไปรับกับสำนักงานประกันสังคม
-
การลาทำหมัน
พนักงานสามารถลาทำหมันได้ โดยยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันและลาได้ตามระยะเวลาที่แพทย์ปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด
และต้องยื่นแสดงใบรับรองแพทย์ ต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 3 วันหลังจากกลับเข้าทำงาน ในกรณีที่พบว่าแผลที่เกิดจากการทำหมันไม่หาย
-
การลารับราชการทหาร
ให้พนักงานมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบเพื่อฝึกวิชาทหารหรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่า
ด้วยการรับราชการทหารโดยให้พนักงานได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาและมีระยะเวลาปีละไม่เกิน 60 วัน ในการลารับราชการทหารดังกล่าวนี้
พนักงานต้องยื่นใบลาหยุดงานทันทีที่ได้รับหมายเรียก พร้อมแนบสำเนาหมายเรียกเพื่อขออนุญาตลา หากพนักงานไม่ยื่นใบลาให้ถูกต้อง
ตามระเบียบข้อนี้จะถือว่าเป็นการขาดงาน รวมทั้งต้องนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงต่อบริษัทฯภายใน 7 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดการระดม
พลเพื่อตรวจสอบ หรือฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อม
การว่าจ้าง
-
นโยบาย ข้อความในหมวดนี้รวมถึงกระบวนการว่าจ้าง อันได้แก่ การสรรหา คัดเลือก บรรจุแต่งตั้ง และโยกย้ายพนักงานเมื่อมีตำแหน่งว่าง
บริษัทฯ จะพยายามสรรหา คัดเลือก และ บรรจุแต่งตั้งบุคคลให้มาดำรงตำแหน่งที่ว่างนั้น โดยพิจารณาบุคคลภายในที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อน
แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯทรงไว้ซึ่งสิทธิและอำนาจในการพิจารณา สรรหา คัดเลือก และบรรจุแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งต่างๆ จากบุคคลภายนอก
ได้ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมและความเท่าเทียมกัน
-
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจ้างงาน
2.1 การจ้างบุคคลเข้าทำงานต้องเป็นไปตามอัตรากำลังคนที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น การเพิ่มหรือการลดอัตรากำลังคนให้เป็นไปตามที่ได้รับการอนุมัติโดยกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดที่ได้รับมอบหมาย
2.2 กรรมการผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจโดยแต่งตั้งเป็นผู้มีอำนาจในการสรรหา ทดสอบ สัมภาษณ์ คัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง ให้เข้าทำงาน โยกย้าย เปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงาน หรือให้ออกจากงาน
2.3 บริษัทฯทรงไว้ซึ่งสิทธิจะให้พนักงานไปทำงานนอกสถานที่ได้
-
ประเภทของพนักงาน เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบริษัทฯจำแนกประเภทของพนักงานไว้ ดังนี้
3.1 พนักงานรายดือน คือ พนักงานที่บริษัทฯ ตกลงจ้างโดยกำหนดค่าจ้างเป็นรายเดือน
3.2 พนักงานรายวัน คือ พนักงานที่บริษัทฯ ตกลงจ้างโดยกำหนดค่าจ้างเป็นรายวัน
3.3 พนักงานตามผลงาน คือ พนักงานที่บริษัทฯ ตกลงจ้างโดยกำหนดค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวนเป็นหน่วย
3.4 พนักงานทดลองงาน คือ พนักงานบริษัทฯมีหนังสือให้ทดลองงาน
3.5 พนักงานตามสัญญาจ้างพิเศษ คือ พนักงานที่บริษัทฯ ทำสัญญาจ้างกับพนักงานในกรณีต่าง ๆ
-
พนักงานใหม่จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่อไปนี้
4.1 รูปถ่ายปัจจุบันขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
4.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมฉบับจริง
4.3 สำเนาทะบียนบ้าน
4.4 หลักฐานการศึกษา
4.5 หลักฐานอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ใบรับรองการอบรมต่างๆ หนังสือรับรองการผ่านงาน เป็นต้น
-
ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ใดๆเป็นพิเศษ อีกทั้งไม่มีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใด เว้นแต่จะได้รับควานยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ ก่อน
นโยบายการใช้แรงงานบังคับ (Forced Labor)
บริษัทฯ กำหนดนโยบายชัดเจนจะไม่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการใช้แรงงานบังคับเพื่อประโยนช์ของบริษัทฯ รวมถึงโรงงานคู่สัญญาและผู้ขายสินค้าต่างๆให้กับบริษัทฯ
แรงงานบังคับ หมายถึง การว่าจ้างการกำหนดเงื่อนไขการว่าจ้างหรือการมอบหมายให้บุคคลทำงานโดยบุคคลนั้นไม่สมัครใจ ทั้งนี้จะอาศัยวิธีการหรืออ้างเหตุผลเพื่อการลงโทษ การหักหนี้ การข่มขู่ การยึดบัตรประจำตัว หรือหลักฐานประจำตัว หรือวิธีอื่นใดก็ตาม
-
การมอบหมายงาน
บริษัทฯอนุญาต หรือมอบหมายงานให้พนักงานทำงานโดยที่พนักงานไม่สมัครใจทำ
-
ความมีอิสระที่จะไปยังสถานที่ต่าง ๆ
บริษัทฯอนุญาต ให้พนักงานไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระภายในที่ทำงานของตน ในช่วงเวลาทำงาน รวมถึง
การไปยังสถานที่พักดื่มน้ำ ห้องน้ำ และการออกจากสถานที่ทำงานในช่วงเวลาพักรับประทานอาหาร หรือหลังชั่วโมงทำงาน
-
การบังคับทำงานล่วงเวลา
บริษัทฯจะต้องให้พนักงานทราบตั้งแต่เมื่อมีการจ้างงาน หากว่าการทำงานล่วงเวลาถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการทำงาน
ถ้ากฏหมายไม่อนุญาตให้มีการทำงานล่วงเวลาเวลาแบบที่กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ บริษัทฯจะต้องไม่บังคับพนักงานให้ทำงานล่วงเวลา
-
แรงงานต่างด้าว
บริษัทฯจะไม่เก็บเอกสารส่วนตัว เช่น ใบอนุญาตเดินทาง โดยถือเป็นเงื่อนไขในการว่าจ้าง แต่บริษัทฯ
อาจช่วยเก็บรักษาเอกสารดังกล่าวไว้ ถ้าพนักงานต้องการที่จะมอบเอกสารดังกล่าวด้วยความสมัครใจเพื่อความปลอดภัย
และบริษัทฯ จะส่งเอกสารคืนให้พนักงานทันทีเมื่อพนักงานร้องขอ
วันและสถานที่ที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
บริษัทฯ กำหนดจ่ายค่าจ้างในวันทำงาน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่พนักงานในวัน
ทำงานปกติ ณ ที่ทำการของบริษัทฯ หรือจ่ายผ่านธนาคาร ซึ่งให้พนักงานเปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารที่บริษัทฯ ได้แจ้งให้
พนักงานทราบโดยได้รับความยินยอมจากพนักงาน ดังนี้
-
พนักงานรายเดือนและรายวัน จ่ายทุกวันสิ้นเดือน
กรณีวันที่จ่ายค่าจ้างในวันทำงาน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวัยหยุดตรงกับวันหยุดธนาคาร หรือ
วันหยุดของบริษัทฯ บริษัทฯจะจ่ายก่อนวันหยุด 1 วัน วันทำงาน และบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงวันที่จ่ายค่าจ้าง
ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยจะปิดประกาศให้ทราบตามตารางการจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าในแต่ละปี
นโยบายการทำงานล่วงเวลา
บริษัทฯไม่มีความประสงค์จะให้พนักงานของบริษัทฯทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด เว้นแต่กรณี
จำเป็นที่งานต้องทำอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯหรือลูกค้าของบริษัทฯ
ชั่วโมงทำงานปกติของพนักงานจะต้องทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อรวมชั่วโมงการทำงานปกติ
กับชั่วโมงทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุดแล้วต้องไม่เกิน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หรือกรณีหากมีความจำเป็นด้านธุรกิจ การบริหารการผลิตกำหนดให้
ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด ต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อรวมชั่วโมงการทำงานปกติ
กับชั่วโมงทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุดแล้วต้องไม่เกิน 84 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
กรณีจะให้มีการทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
- การทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดต้องได้รับคำสั่งโดยตรงจากผู้จัดการฝ่ายต้นสังกัด
- พนักงานยินยอมทำงานด้วยความสมัครใจ และให้มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน-หลังทำงาน
- กรณีพนักงานทำงานติดต่อกัน 6 วัน พนักงานจะต้องได้หยุด 1 วัน
-
ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำ
- งานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
- งานที่ขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
- งานยก แบก หาม ทูน ลากหรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
- งานที่ทำในเรือ
- การทำงานระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น.
- การทำงานล่วงเวลา
- การทำงานในวันหยุดและปฏิบัติตามกฎกระทรวง
วินัยและโทษทางวินัย
-
วัตถุประสงค์ บริษัทฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในหมวดนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1.1 เพื่อเป็นแนวทางของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณา ส่งเสริม แก้ไข หรือปรับปรุงความประพฤติของผู้ใต้บังคับบัญชา
1.2 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อพนักงานในเรื่องวินัยในการปฏิบัติของบริษัทฯ
1.3 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับ อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของพนักงานบริษัทฯ
1.4 เป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้การดำเนินกิจการของบริษัทฯบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความมีระเบียบ เป็นธรรม ถูกต้องตามกฏหมายและก่อให้เกิดความสงบสุขในการทำงานร่วมกัน
-
นโยบาย บริษัทฯได้วางนโยบายในเรื่องวินัยของพนักงานไว้ดังนี้
2.1 ผู้บังคับบัญชาจะต้องพยายามป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการลงโทษทางวินัย ด้วยการใช้หลักเกณฑ์การบริหารบุคคลหรือการปกครองที่ดี
2.2ตามปกติแล้วการดำเนินลงโทษทางวินัยจะทำเป็นขั้นตอน เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสปรับปรุงตนเอง นอกเสียจากความผิดนั้นมีลักษณะร้ายแรง
-
วินัยพนักงาน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันพนักงานจะต้องปฏิบัติระเบียบดังต่อไปนี้
3.1 วินัยทั่วไป
- 3.1.1 ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีอยู่ในระเบียบและกฏเกณฑ์ของสังคมไม่ประพฤติชั่วกระทำหรือร่วมกัน
กระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดกฏหมายของบ้านเมืองทั้งในและนอกบริเวณบริษัท ฯ
- 3.1.2 เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฏเกณฑ์ต่างๆของบริษัทฯที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
- 3.1.3 แจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของตนเองให้บริษัทฯทราบในกรณีเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล ที่อยู่อาศัย สมรส / หย่าร้าง มีบุตร บุคคลในครอบครัวเสียชีวิตเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน สน ทั้งนี้ภายในเจ็ดวัน นับจากวันที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละกรณี
- 3.1.4 รักษาความสะอาด ไม่ทิ้งสิ่งของหรือสิ่งปฏิกูลใดๆนอกภาชนะที่บริษัทฯ จัดไว้ ช่วยกันดูแลประหยัดการใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้พลังงานและสิ่งอื่นๆให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด
- 3.1.5 ไม่มาทำงานสาย ไม่กลับก่อนเวลา หรือไม่ลาหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือเป็นการพร่ำเพรื่อ
- 3.1.6 ไม่ช่วยเหลือ สนับสนุน ชักจุง รู้เห็นเป็นใจ หรือเพิกเฉยต่อการกระทำความผิดของพนักงาน
- 3.1.7 ห้ามรับจ้างทำงานให้ผู้อื่นหรือดำเนินธุรกิจใดๆอันอาจเป็นผลกระทบกระเทือนเวลาทำงานหรือกิจการของบริษัทฯ
- 3.1.8 ห้ามนำสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯไปใช้ในประโยชน์ส่วนตัวหรือใช้เพื่อการอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของบริษัทฯโดยไม่ได้รับอนุญาต
- 3.1.9 ระมัดระวังดูรักษาสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบเมื่อทำสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯเสียหายหรือสูญหาย
- 3.1.10 ไม่ประพฤติตนหรือกระทำการใดๆให้บริษัทฯเสื่อมเสียชื่อเสียงหรืออาจได้รับความเสียหาย
- 3.1.11 ไม่เปิดเผยข้อมูล หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย
- 3.1.12 ไม่ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทบุคคลอื่น หรือเหยียดหยามผู้บังคับบัญชาหรือลูกค้า หรือผู้มาติดต่อ หรือกระทำอื่นๆที่เป็นการอันไม่สมควร
- 3.1.13 หากพนักงานหญิงตั้งครรภ์ให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาเป็นลายลักษณ์อักษร
- 3.1.14 ห้ามรับประทานอาหารในระหว่างเวลาทำงาน ณ สถานที่ปฏิบัติงาน ควรจะรับประทานอาหารในสถานที่ที่บริษัทฯได้จัดไว้ให้
- 3.1.15 พนักงานต้องปฏิบัติตามระเบียบ / ประกาศ / ป้ายเตือน / ป้ายห้าม / ป้ายจราจร / ป้ายอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยเคร่งครัด
3.2 ระเบียบการเข้าหรือออกบริเวณบริษัทฯ
-
3.2.1 พนักงานที่บริษัทฯ กำหนดให้บันทึกเวลาทำงาน ต้องบันทึกเวลาด้วยตัวเองทุกครั้งเมื่อเข้าทำงานเลิกงาน และ / หรือ ตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดห้ามบันทึกเวลาแทนผู้อื่น หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้ผู้อื่นบันทึกเวลาให้ หากใครฝ่าฝืน บริษัทฯ จะถือเป็นความผิดร้ายแรง ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดจะต้องได้รับโทษทางวินัย อาจถึงขั้นเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น
- 3.2.2 พนักงานที่เข้ามาในบริเวณของบริษัทฯ จะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
- 3.2.3 พนักงานที่จะออกจากสถานที่ทำงานในระหว่างเวลาทำงาน และเวลาพักของตนเองไม่ว่ากรณีใดต้องปฏิบัติตามระเบียบที่บริษัทฯกำหนดทุกครั้ง และในกรณีที่เป็นการออกจากบริษัทฯโดยไม่กลับมาอีกให้บันทึกเวลาด้วย
- 3.2.4 พนักงานที่ต้องไปปฏิบัติงานภายนอกบริษัทฯ ซึ่งไม่สามารถบันทึกเวลาทำงานได้ จะต้องรับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตามสายงานเป็นหนังสือก่อนไป ปฏิบัติงานดังกล่าว ยกเว้นกรณีเร่งด่วนอาจให้ผู้บังคับบัญชารับรองภายหลังได้
- 3.2.5 ห้ามพนักงานผู้ซึ่งถูกบริษัทฯสั่งพักงานในทุกกรณี เข้ามาในบริเวณบริษัทฯโดยไม่ได้รับอนุญาต
- 3.2.6 ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานต่อยามรักษาการณ์เมื่อผ่านเข้าบริษัทฯ หรือ เพื่อยามรักษาการณ์ขอให้แสดง
- 3.2.7 นอกจากการทำงานตามหน้าที่ ห้ามเข้ามา หรืออยู่ภายในสถานที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
- 3.2.8 การนำสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ ออกจากบริษัทฯ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม จะต้องแสดงใบอนุญาตนำสิ่งของหรือทรัพย์สินที่จะนำออกไปนั้นต่อยามรักษาการณ์
- 3.2.9 ต้องให้ยามรักษาการณ์ตรวจสิ่งของที่นำติดตัวมาเข้ามา หรือเมื่อออกจากบริษัทฯ การขัดขืนหรือไม่ยินยอมให้ตรวจค้น หรือไม่มีหนังสือนำของออกอย่างถูกต้อง จะถือว่าเป็นการละเลย ปฏิเสธหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัทฯ
- 3.2.10 ไม่ใช้เวลาทำงานเพื่อต้องรับ หรือพบปะผู้มาเยือนในธุรกิจส่วนตัว หากจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน และให้ใช้สถานที่ตามที่บริษัทฯ จัดไว้โดยใช้เวลาเท่าที่จำเป็น
- 3.2.11 ห้ามนำสัตว์เลี้ยงใด ๆ เข้ามาในบริเวณบริษัทฯ
- 3.2.12 ห้ามนำเข้าหรือเสพ หรือมีใว้ครอบครองซึ่งอาวุธ ยาเสพติด สิ่งมึนเมา หรือสิ่งที่ผิดกฏหมายภายในบริเวณบริษัทฯ
- 3.2.13 ห้ามพนักงานที่อยู่ในลักษณะมึนเมาเข้ามาในบริเวณบริษัทฯ
3.3 การมาทำงาน
- 3.3.1 พนักงานต้องมาทำงานอย่างปกติและสม่ำเสมอตามวันเวลาทำงานที่บริษัทฯ กำหนด
- 3.3.2 พนักงานต้องปฏิบัติตามระเบียบในเรื่องการลงเวลาเข้าและออกงานโดยเคร่งครัด
- 3.3.3 พนักงานต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการลา หรือการหยุดงานโดยเคร่งครัด
- 3.3.4 พนักงานต้องปฏิบัติตามกำหนดการและเวลาในเรื่องการเข้าทำงาน การออกไปและการกลับเข้ามาในการปฏิบัติงานนอกบริษัทฯและการเลิกงาน
- 3.3.5 พนักงานห้ามทำบัตรบันทึกเวลาชำรุดสูญหาย หรือแก้ไขข้อความใดๆถ้ามีการแก้ใขหรือเพิ่มเติมในบัตรลงเวลาจะต้องให้ผู้บังคับบัญชาเซ็นต์รับรองด้วยทุกครั้ง
- 3.3.6 บัตรลงเวลาหรือเครื่องบันทึกเวลาอัตโนมัติ ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการมาปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งจะนำมาคำนวนค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และใช้ประกอกพิจารณาผลงานประจำปีเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) และอื่น ๆ
- 3.3.7 พนักงานต้องมาปฏิบัติหน้าที่ตามเวลาทำงานที่บริษัทฯกำหนดไว้ ถ้าบันทึกเวลาหลังจากที่บริษัทฯ กำหนดจะถือว่ามาสาย ซึ่งจะมีผลต่อการประเมินผลการทำงานของพนักงานเอง
- 3.3.8 เมื่อบันทึกเวลาทำงานแล้ว พนักงานต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ประจำหรือตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจนกว่าจะถึงเวลาเลิกงาน
3.4 การปฏิบัติหน้าที่
- 3.4.1 พนักงานต้องปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อบริษัทฯมีคำสั่งให้โยกย้ายพนักงาน ไปประจำหน่วยงานใดไม่ว่าจะเป็นชั่วคราวหรือการถาวร
- 3.4.2 พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร
- 3.4.3 พนักงานต้องใช้เวลาในการทำงานทั้งหมดของตนให้เป็นประโยชน์ต่องานตามหน้าที่
- 3.4.5 ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริษัทฯพนักงานจะต้องติดบัตรประจำตัวของพนักงานให้เป็นที่เห็นชัดอยู่ตลอดเวลา
- 3.4.6 พนักงานต้องไม่ทำงานให้กับบุคคลหรือองค์กรอื่นใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้รับค่าจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
- 3.4.7 พนักงานต้องไม่เสพสุรา หรือยาเสพติด หรืออยู่ในอาการมึนเมาภายในบริเวณบริษัทฯ หรือขณะปฏิบัติหน้าที่
- 3.4.8 ห้ามนำบุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณบริษัทฯโดยไม่ได้รับอนุญาต
- 3.4.9 ห้ามสูบบุหรี่ภายในบริเวณบริษัทฯ เว้นแต่สถานที่ที่บริษัทฯได้กำหนดไว้
- 3.4.10 ห้ามฝ่าฝืนระเบียบการแต่งชุดทำงาน
- 3.4.11 ห้ามใช้เครื่องมือ เครื่องจักร โดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
- 3.4.12 ห้ามรับประทานอาหาร หรือของขบเคี้ยวในเวลาทำงาน
- 3.4.13 ห้ามละทิ้งหน้าที่ หรือขาดงาน
- 3.4.14 ห้ามทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
- 3.4.15 พนักงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่ หรือความรับผิดชอบตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
- 3.4.16 พนักงานจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ในกรณีเลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย หรือการมอบหมายงาน
- 3.4.17 พนักงานจะต้องพึงรักษาสุขภาพของตนให้พร้อมที่จะทำงานให้กับบริษัทฯ
- 3.4.18 พนักงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของพนักงานรักษาความปลอดภัย
- 3.4.19 พนักงานจะต้องปฏิบัติตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด วิธีการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน
- 3.4.20 พนักงานจะต้องสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย
- 3.4.21 กรณีที่พนักงานแสดงเจตนาที่จะทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดแล้ว แต่กรณีไม่มาปฏิบัติงานนั้นโดยไม่มีเหตุอันควรและส่งผลให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย บริษัทฯอาจจะพิจารณาโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
- 3.4.22 พนักงานจะต้องไม่เข้าไปก้าวก่ายหน้าที่ของพนักงานอื่น และต้องไม่เข้าไปในบริเวณหรือพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตปฏิบัติงานหน้าที่ของตน เว้นแต่มีความจำเป็นต้องเข้าไปติดต่อธุระและได้รับอนุญาตจากหัวหน้าแผนกแล้ว
3.5 การรักษาความลับของบริษัทฯ
- 3.5.1 พนักงานต้องรักษาความลับของลูกค้าของบริษัทฯ และพนักงานอื่น หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
- 3.5.2 พนักงานต้องรักษาความลับและชื่อเสียงของบริษัทฯ
- 3.5.3 พนักงานต้องไม่เปิดเผยค่าจ้างหรือเงินเดือน อัตราการขึ้นเงินเดือนของตนเองหรือของผู้อื่นจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตามทำให้พนักงานผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
3.6 การรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ
- 3.6.1 พนักงานต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจอื่นใด อันอาจมีผลกระทบกระเทือนถึงประโยชน์ของบริษัทฯหรือเป็นการแข่งขันกับบริษัทฯ
- 3.6.2 พนักงานต้องไม่ปฏิบัติสิ่งใดอันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม
- 3.6.3 พนักงานต้องรักษาและเสริมสร้างชื่อเสียงอันดีงามของบริษัทฯ
- 3.6.4 พนักงานต้องรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ โดยถือเสมือนว่าเป็นผลประโยชน์ของตนเอง
3.7 การใช้และการระวังรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ
- 3.7.1 พนักงานต้องไม่สูบบุหรี่ หรือก่อให้เกิดประกายไฟในสถานที่ซึ่งเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุซึ่งเป็นเชื้อเพลิงภายในบริเวณบริษัทฯ หรือขณะปฏิบัติหน้าที่ ยกเว้นสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้
- 3.7.2 พนักงานต้องไม่นำอุปกรณ์ทรัพย์สินของบริษัทฯไปใช้นอกเหนือจากการทำงานให้แก่บริษัทฯ
- 3.7.3 พนักงานต้องระวังทรัพย์สินของบริษัทฯมิให้สูญหายหรือถูกทำลายไป แม้จะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของตนเอง
- 3.7.4 พนักงานต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงวิธีการใช้และคำแนะนำในด้านความปลอดภัยของทรัพย์สินของบริษัทฯก่อนจะใช้เสมอ
- 3.7.5 พนักงานต้องใช้และบำรุงรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯเสมือนบุคคลทั่วไปพึงใช้และบำรุงรักษาทรัพย์สินของตนเอง
- 3.7.6 พนักงานต้องปฏิบัติตามคำสั่ง หรือระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
3.8 ความซื่อสัตย์สุจริต
- 3.8.1 พนักงานต้องไม่เปลี่ยนแปลง ปลอม แก้ไข ตัดทอน หรือทำลายเอกสารต่างๆ ของบริษัทฯหรือเอกสารที่มีการเกี่ยวข้องระหว่างบริษัทฯ กับพนักงานโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะกระทำการดังกล่าว
- 3.8.2 พนักงานต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของตนตามที่บริษัทฯต้องการแก่บริษัทฯ ตามความเป็นจริงและถ้าข้อมูลที่ได้แจ้งไว้แล้วไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พนักงานต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องให้กับบริษัทฯทราบโดยเร็วที่สุด
- 3.8.3 พนักงานต้องให้ความร่วมมือกับบริษัทฯ ในการสอบสวนเรื่องราวต่างๆ ที่บริษัทฯ ต้องการและในการร่วมมือดังกล่าวพนักงานจะต้องกระทำการต่างๆด้วยความสุจริต
- 3.8.4 พนักงานต้องไม่อาศัยอำนาจหน้าที่ หรือโอกาสในการทำงานกับบริษัทฯเพื่อแสวงหาประโยชน์ใดๆอันขัดต่อจรรยาวิชาชีพของตน ระเบียบประเพณีในการทำงาน กฎหมาย หรือขัดต่อผลประโยนช์ของบริษัทฯ
- 3.8.5 พนักงานต้องไม่แจ้งข้อความเท็จหรือลาป่วยเท็จต่อผู้บังคับบัญชาหรือบริษัทฯ
- 3.8.6 พนักงานต้องยินยอมให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทฯตรวจในกรณีที่เกิดความสงสัยว่าจะมีสิ่งของที่ผิดกฏหมายหรือได้มาจากการกระทำผิดกฏหมาย หรืออาวุธอยู่ในตัวพนักงาน
- 3.8.7 พนักงานต้องไม่ปกปิด หรือบิดเบือนความจริงเพื่อได้มาซึ่งประโยชน์ของตนและผู้อื่น
- 3.8.8 พนักงานต้องไม่แจ้งหรือให้ข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
- 3.8.9 พนักงานต้องรักษาไว้ซึ่งงานในหน้าที่ในลักษณะสร้างเสริม หรือรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและไม่จงใจหรือเจตนาปฏิบัติงานให้ล่าช้า
- 3.8.10 พนักงานจะต้องบริการลูกค้าอย่างเต็มความสามารถ หรือจะต้องรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯอย่างสูงสุด
3.9 ความประพฤติ
- 3.9.1 พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ ความในข้อนี้หมายความรวมถึงสถานที่อื่น เมื่อบริษัทฯ จัดงาน หรือมีงานนอกสถานที่บริษัทฯหรือในขณะทำงานนอกสถานที่และรถรับ-ส่ง
- 3.9.2 พนักงานต้องเป็นผู้ตรงต่อเวลาในการนัดหมายอันเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
- 3.9.3 พนักงานต้องไม่พกอาวุธ หรือครอบครองสิ่งผิดกฏหมายเข้ามาในบริษัทฯหรือในขณะปฏิบัติหน้าที่
- 3.9.4 พนักงานต้องประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี หรือไม่ประพฤติชั่วร้ายอย่างร้ายแรงทั้งในและนอกบริษัทฯ
- 3.9.5 พนักงานต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบธรรมของผู้บังคับบัญชา หรือบริษัทฯทั้งคำสั่งด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษรและการสื่อข้อความอื่นๆ
- 3.9.6 พนักงานต้องเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ไม่พูดจาไม่สุภาพ ก้าวร้าว หรือแสดงข้อความ หรือแสดงกิริยาอาการเป็นการส่อเสียดเหยียดหยาม ประณาม หรือดูหมิ่นพนักงานอื่น หรือผู้บังคับบัญชา
- 3.9.7 พนักงานต้องไม่ยุยง ส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีการทะเลาะวิวาทหรือการทำร้ายร่างกายในหมู่พนักงานบริษัทฯหรือระหว่างพนักงานของบริษัทฯกับบุคคลภายนอก
- 3.9.8 พนักงานต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการผิดกฏหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนาถึงแม้ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม เช่น เล่นการพนัน
- 3.9.9 พนักงานต้องไม่เล่นการพนันในบริเวณบริษัทฯหรือห้ามเล่นพนันในขณะปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ทำงาน หรือส่งสริมให้มีการเล่นการพนันหรือมีหนี้สินจากการเล่นพนันหรือถูกจับกุมเนื่องจากเล่นการพนันในสถานที่ทำงาน
- 3.9.10 พนักงานต้องไม่กระทำการล่วงเกินทางเพศซึ่งกันและกันในเวลาทำงานหรือในสถานที่ทำงาน หรือในบริเวณที่บ้านพัก หรือบนรถรับ-ส่งพนักงาน
-
บทลงโทษ
วินัยของพนักงานตามที่ระบุมานี้พนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และ อนุโลมบังคับใช้ถึงบ้านพักหรือรถรับ-ส่งพนักงานด้วย ถ้าพนักงานผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติใดๆอันถือว่าเป็นการฝ่าฝืนวินัยดังกล่าวจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยตามลักษณะแห่งความผิด ทางวินัยหรือความหนักเบาของการกระทำผิด หรือร้ายแรงเกิดขึ้น การลงโทษจะเป็นไปตามข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อรวมกันก็ได้ตามบทลงโทษบริษัทฯกำหนดบทลงโทษทางวินัยไว้ 3 ประการดังนี้
4.1 การตักเตือนด้วยวาจา โดยบันทึกเป็นรายงานไว้เป็นหลักฐาน 1 ครั้ง
4.2 การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง 2 ครั้ง ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
4.3 การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
-
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
ผู้มีอำนาจลงโทษมีเกณฑ์ในการพิจารณาพนักงานผู้กระทำผิด ดังนี้
5.1 ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความอาญาโดยเจตนาแก่บริษัทฯ
5.2 จงใจทำให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย
5.3ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
5.4 ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของบริษัทฯ อันชอบด้วยกฏหมายและเป็นธรรมและบริษัทฯด้ตักเตือนเป็นหนังสือ เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด
5.5 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
5.6 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
-
เลิกจ้าง
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้
6.1 ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
6.2 ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
6.3 ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
6.4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
6.5 ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
6.6 ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน
สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัตรใจโดยจะยึดถือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เป็นหลัก
-
ในกรณีที่พนักงานทำผิดวินัย บริษัทฯจะมีคำสั่งพักงานระหว่างสอบสวนเป็นหนังสือโดยระบุความผิด และกำหนดระยะเวลาพักงาน
เพื่อสอบสวนได้ไม่เกินเจ็ดวัน โดยจะแจ้งให้พนักงานทราบก่อนพักงานในระหว่างการพักงาน บริษัทฯจะจ่ายเงินให้พนักงานตามอัตราที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานเมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น แล้วปรากฏว่าพนักงานไม่มีความผิดบริษัทฯจะจ่ายจ้างให้แก่พนักงานเท่ากับร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานนับตั้งแต่วันที่พนักงานถูกสั่งพักงาน
-
บริษัทฯขอสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมกฏระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯเพื่อความเหมาะสมตามสภาพของสถานการณ์หน้า
-
ผู้มีอำนาจพิจารณาและดำเนินการลงโทษทางวินัย คือ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้บังคับบัญชาแต่ละแผนกเป็นผู้ลงโทษ หรือบุคคลที่ได้รับการมอบหมาย
นโยบายการปฏิบัติที่มิชอบ และการล่วงละเมิด
เพื่อให้การปฏิบัติต่อกันของพนักงาน หรือการปฏิบัติของผู้บริหาร หัวหน้างานต่อผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ และให้เกียรติโดยปราศจากการปฏิบัติที่มิชอบ และการล่วงละเมิดต่อกันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจาทางความคิด และทางเพศซึ่งผู้บริหาร พนักงานทุกคนของบริษัทฯ รวมถึงลูกค้า หรือผู้มาติดต่อในบริษัทฯต้องปฏิบัติตามนโยบาย โดยไม่มีข้อยกเว้น
ลักษณะการปฏิบัติที่มิชอบและการล่วงละเมิด ดังนี้
- การล่วงละเมิดทางกาย หมายถึง การใช้กำลังทำร้ายร่างกาย หรือ การข่มขู่ทางร่างกาย
- การล่วงละเมิดทางวาจา หมายถึง การดุด่า ว่ากล่าว โดยใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ การข่มขู่ หรือการดูหมิ่นพนักงาน
- การล่วงละเมิดความคิด หมายถึง การใช้คำพูด หรือการกระทำในอันที่จะทำลายความน่าเชื่อถือในตัวของพนักงาน
-
การล่วงละเมิดทางเพศ หมายถึง
4.1 การเสนอสิทธิพิเศษในการที่จะมอบหมายงานบางอย่างให้ หรือสิทธิพิเศษในการกระทำใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมโดยถือเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการมีสัมพันธ์ทางเพศ
4.2 การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อพนักงานในทุกรูปแบบ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิเสธที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศ
4.3 การวิจารณ์ การเฝ้าสังเกตที่แสดงออกในเชิงทางเพศ ที่ไม่สมควร และรวมถึงการสัมผัสทางกายที่แฝงความหมายทางเพศ
4.4 การปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องเพศ
-
การล่วงละเมิดทางด้านอื่น เช่น การหน่วงเหนี่ยวในช่วงเวลาพักระหว่างทำงาน การพักดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ การหน่วงเหนี่ยว
กีดกันพนักงานไม่ให้ไปยังสถานที่ต่างๆในช่วงเวลาทำงานโดยไม่มีเหตุผลอันควรรวมถึงการดูแลสุขภาพ หรือ
ความจำเป็นพื้นฐานอื่นๆ ของมนุษย์
พนักงานที่ถูกละเมิด หรือรู้เห็นการกระทำละเมิดดังกล่าวสามารถร้องทุกข์ได้ โดยผ่านกล่องรับความคิดเห็น หรือ ทางโทรศัพท์ "สายด่วน" ติดต่อกับหน่วยงานรับร้องทุกข์ที่บริษัทฯได้จัดไว้โดยตรงซึ่งขั้นตอนการร้องทุกข์ การสอบหาข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวจะปิดเป็นความลับ
บทลงโทษผู้กระทำการปฏิบัติที่มิชอบ หรือการล่วงละเมิด ให้ขึ้นอยู่กับผล หรือลักษณะของความผิด ซึ่งบริษัทฯ
5.1 ลงโทษทางวินัยตามบทลงโทษที่กำหนดในระเบียบข้อบังคับฯซึ่งกำหนดโทษสูงสุดคือการเลิกจ้าง
5.2 ผู้กระทำจะต้องขอโทษผู้ถูกข่มขู่ หรือถูกล่วงละเมิด
5.3 ส่งตัวเข้ารับอบรมเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ
5.4 ถูกโยกย้ายตำแหน่งหรือจุดปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการข่มขู่ หรือล่วงละเมิดใดๆ
5.5 กรณีที่กฏหมายกำหนดไว้ บุคคลต้องรับผิดต่อการข่มขู่ หรือล่วงละเมิดดังกล่าว ผู้กระทำจะต้องถูกส่งตัว ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินคดีตามกฏหมาย
นโยบายการไม่เลือกปฏบัติ (NON DISCRIMINATION)
เพื่อให้การปฏิบัติต่อพนักงานมีความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน มีหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐาน โดยไม่คำนึงถึงเพศ อายุ สัญชาติ ศาสนา สีผิว สถานการณ์สมรส ความโน้มเอียงทางเพศ สถานภาพทหาร ความทุพพลภาพ สถานภาพสังคม หรือปัจจัยอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องการทำงาน บริษัทฯจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติ ดังนี้
- บริษัทฯจะปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และสอดคล้องตามกฏหมาย
- บริษัทฯจะปฏิบัติต่อพนักงานด้วยด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกันในเรื่องการว่าจ้าง การให้สวัสดิการ การจ่ายค่าจ้าง การเลื่อนตำแหน่ง การลงโทษ หรือการลาออก โดยพิจารณาจากคุณวุฒิทางการศึกษาและความสามารถในการทำงานของพนักงานเท่านั้น
- บริษัทฯจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฏหมาย ที่ระบุให้รับผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกายเข้าทำงานตามสัดส่วนที่กฏหมายกำหนด
- บริษัทฯจะเคารพสิทธิของพนักงาน โดยจะไม่เรียกร้องให้ผู้ที่จะรับเข้ามาเป็นพนักงานเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
นโยบายการใช้แรงงานเด็ก
เพื่อความชัดเจน และเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เรื่อง การใช้แรงงานเด็กบริษัทฯจึงกำหนดนโยบายไม่รับผู้สมัครที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีตามเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดเข้าเป็นพนักงานของบริษัทฯ
กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับพนักงานเข้าทำงานตรวจสอบความถูกต้องของสำเนาเอกสารทุกฉบับที่ใช้ประกอบการสมัครงานจะต้องเป็นสำเนาที่ถ่ายจากฉบับจริงเท่านั้น
สิทธิของพนักงานหญิง
เพื่อเป็นการปฏิบัติต่อพนักงานหญิงอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกันกับเพศอื่น ในทุกด้าน บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายชัดเจนในหลักการปฏิบัติเรื่อง การว่าจ้าง การให้สวัสดิการและการไม่เลือกปฏิบัติดังนี้
บริษัทฯ จะไม่ดำเนินการตรวจ หรือสอบถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ทั้งใบสมัครงาน หรือจากผู้มาสมัครงาน เพื่อเป็นเหตุผลประกอบการพิจารณารับเข้าทำงาน การว่าจ้าง และจะไม่ใช้ภาวะการตั้งครรภ์ของพนักงานเป็นเหตุผลในการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง หรือการเลิกจ้าง
การตรวจการตั้งครรภ์จะกระทำได้โดยเป็นความต้องการ และความสมัครใจของพนักงานเป็นลายลักษณ์อัษรเท่านั้น
การทำงานที่ปลอดภัย
เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของแม่และเด็กที่ยังอยู่ในครรภ์ บริษัทฯจะจัดให้พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ ไปทำงานที่ไม่เสี่ยงต่ออันตรายและจะจำกัดชั่วโมงการทำงานให้เหมาะสมต่อสุขภาพ โดยบริษัทฯจะดูแลเรื่องความปลอดภัยให้กับพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นพิเศษ
สวัสดิการ
บริษัทฯ จะปฏิบัติตามกฏหมายในเรื่องการลาหยุด การลาคลอด และการให้สวัสดิการหลังการคลอด ค่าตอบแทนแรงงาน และสวัสดิการอื่นๆ เมื่อพนักงานหญิงกลับมาทำงาน
การไม่เลือกปฏิบัติ
บริษัทฯ จะส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันของพนักงานชาย และหญิงในสถานที่ทำงาน และไม่กีดกันพนักงานหญิงในเรื่องค่าจ้าง การกำหนดค่าจ้าง การเลื่อนตำแหน่ง หรือการให้รางวัลพิเศษ และการเลิกจ้าง โดยจะพิจารณาจากความสามารถของพนักงานเท่านั้น
เสรีภาพในการสมาคมและเจรจาต่อรอง
เพื่อให้เป็นตามกฏหมายของประเทศและอนุสัญญขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องการเจรจาต่อรอง และ เสรีภาพ ในการสมาคมของพนักงาน โดยพนักงานมีสิทธิที่จะเข้าร่วม หรือปฏิเสธที่จะเข้าร่วมองค์กร หรือสมาคมที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพนักงานในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการทำงาน ได้อย่างอิสระ ตั้งแต่การเริ่มว่าจ้าง และการดำเนินไปตลอดการว่าจ้างนั้น บริษัทฯได้กำหนดระเบียบปฏิบัติดังนี้
- บริษัทฯจะไม่ใช้กำลังหรือการปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อบีบบังคับพนักงานหรือกีดกันการรวมตัวของพนักงานที่กระทำอย่างสงบ
- บริษัทฯจะไม่ขับไล่ ลงโทษหรือใช้อำนาจบังคับ หรือข่มขู่พนักงานที่ต้องการใช้สิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม ซึ่งหมายความรวมถึงสิทธิที่จะเข้าร่วม หรือปฏิเสธการเข้าร่วมองค์กร หรือสมาคมที่ทำหน้าเป็นตัวแทนให้กับพนักงาน
- พนักงานมีสิทธิที่จะเลือกตัวแทนจากองค์กรของตน และจัดกิจกรรม โดยปราศจากการแทรกแซงใดๆ และ บริษัทฯจะไม่เข้าไปแทรกแซงสิทธิของการมีเสรีภาพในการร่วมกลุ่ม โดยการเข้าควบคุมองค์กรของพนักงาน หรือโดยการให้สิทธิพิเศษแก่องค์องหนึ่งองค์กรใด
- กรณีที่มีสหภาพเพียงแห่งเดียวที่เป็นตัวแทนของพนักงาน บริษัทฯจะไม่เข้าไปแทรกแซงในการที่พนักงานจะจัดตั้งองค์กรอื่นๆขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของตนไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามและในกรณีที่ระบบกลุ่มความสัมพันธ์เชิงอุตสาหกรรม ได้กำหนดให้สหภาพใดๆก็ตาม เป็นตัวแทนการเจรจาต่อรองเฉพาะกิจ บริษัทฯจะไม่ขอที่จะเข้าร่วมในการเจรจา กับกลุ่ม หรือองค์กรของพนักงานอื่นๆในหัวข้อที่รวมอยู่ภายใต้ข้อตกลงทางการเจรจาต่อรองนั้น
สวัสดิการเบี้ยขยัน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติงานอันจะเป็นประโยชน์สุขร่วมกัน บริษัทฯจึงเห็นควรกำหนดระเบียบว่าด้วยสวัสดิการเบี้ยขยัน ค่าอาหาร ค่าเดินทางไว้ดังต่อไปนี้
-
สวัสดิการเบี้ยขยัน
พนักงานรายเดือน รายวัน ที่ผ่านการทดลองงาน 119 วัน มีสิทธิได้รับสวัสดิการเบี้ยขยันแบบเป็นขั้นบันได 300, 500, 700, 1,000 โดยกำหนดระเบียบปฏิบัติดังนี้
1.1 พนักงานที่ปฏิบัติงานตามกฏระเบียบของบริษัท ฯ ต้องไม่ลา ไม่มาสาย ไม่ขาดงาน ภายในเดือนนั้นๆ
1.2 พนักงานปฏิบัติงานที่มีความประพฤติที่ดีงานผ่านการพิจารณาของผู้จัดการ และ ผ่านการประเมิน และได้รับการบรรจุเข้าเป็นพนักงานของบริษัทฯ ตามกฏระเบียบของบริษัทฯ
-
สวัสดิการค่าอาหาร ค่าเดินทาง
พนักงานรายวัน มีสิทธิได้รับสวัสดิการ ค่าอาหาร ค่ากะ ตามเวลาทำงาน
นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ด้วยบริษัทฯมีความห่วงใยต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นควรให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ควบคู่ไปกับหน้าที่ประจำของพนักงาน โดยกำหนดนโยบายเพื่อให้ทุกฝ่ายดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังต่อไปนี้
- บริษัทฯถือว่าความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่รับผิดชอบอันดับแรกในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งตนเองและผู้อื่น
- บริษัทฯจะสนับสนุนและส่งสริมให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดีของพนักงาน
- บริษัทฯจะสนับสนุนส่งเสริมให้มีกิจกรรมความปลอดภัยต่างๆที่จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของพนักงาน เช่น การอบรมจูงใจ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านความปลอดภัย เป็นต้น
- ผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะต้องกระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ อบรม ฝึกสอน จูงใจให้พนักงานปฏิบัติงานตามระเบียบแห่งความปลอดภัยที่กำหนดขึ้นโดยเคร่งครัด
- พนักงานทุกคนต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง เพื่อนร่วมงานตลอดจนทรัพย์สินของบริษัทฯ เป็นสำคัญตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
- พนักงานทุกคนต้องยึดถือและปฏิบัติในโครงการความปลอดภัยอาชีวอนามัยของบริษัทฯและมีสิทธิเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงสภาพการทำงานและวีธีการทำงานให้ปลอดภัย
- พนักงานทุกคนต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่บริษัทฯจัดให้ขณะปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด บริษัทฯจะจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่กำหนดไว้ข้างต้นเป็นประจำ เพื่อควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- บริษัทฯ จะปฏิบัติตามกฏหมาย และกฏระเบียบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯและความต้องการของลูกค้า
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy)
บริษัทฯมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าและบริการอย่างมีคุณภาพ โดยให้ความสำคัญในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันและรักษาไว้ ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดี ดังนี้
- มีการควบคุม ป้องกัน บำบัด มลภาวะต่างๆ ได้แก่ น้ำ อากาศ ขยะ สารเคมี และเสียง รวมถึงการลดหรือเลิกใช้สาร ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการปฏิบัติงาน เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดี
- มีการทบทวนการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- ปฏิบัติตามกฏหมายและกฏระเบียบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯและความต้องการ
ของลูกค้า อนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงานด้วยการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งจากการอุปโภค บริโภค การบำบัด
การควบคุมปริมาณของเสีย และการนำกลับมาใช้ใหม่
- ให้การศึกษาและฝึกอบรมพนักงานทุกคน เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อม โดยถือว่าเป็นหน้าที่
ความรับผิดชอบของพนักงานทุกคน
- ให้มีการประชาสัมพันธ์ ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ผู้บริหารของบริษัทฯ จะส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินการต่างๆบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอโดยนโยบายสิ่งแวดล้อมนี้ จะถ่ายทอดให้กับพนักงานทราบ