CSRポリシー
CSRポリシー
วันหยุดและเกณฑ์การหยุด
  1. วันหยุดประจำสัปดาห์

    1.1 หยุดทุกวันอาทิตย์ แต่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ และเพื่อความเหมาะสมในบางตำแหน่งบริษัทฯ สงวนที่จะเปลี่ยนแปลงวันหยุด ประจำสัปดาห์ได้โดยจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน

    1.2 พนักงานบางสายงาน บริษัทฯ อาจกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์เป็นวันใดก็ใดให้มีวันหยุดสัปดาห์ละ 1 วันหลังจากทำงาน ไม่เกิน 6 วันและอาจต้องสับเปลี่ยนหมุนเวียนหยุดตามความเหมาะสมและจำเป็น

  2. วันหยุดตามประเพณี บริษัท ฯ กำหนดให้มีวันหยุดตามประเพณีปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดได้ตาม โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วยและพนักงานจะได้รับค่าจ้างเท่ากับในวันทำงาน ซึ่งบริษัทฯ จะประกาศให้ทราบล่วงหน้าภายใน เดือนธันวาคมของทุกปีตามความเหมาะสมในแต่ละปี ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุด ตามประเพณีวันนั้นไปหยุดในวันทำงานถัดไป ในกรณีที่บริษัทฯไม่อาจให้พนักงานหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากพนักงานทำงาน ที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฏกระทรวง บริษัทฯจะจัดวันหยุดให้ในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือ บริษัทฯจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้
  3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี

    3.1 พนักงานที่ทำงานกับบริษัทฯมาจนครบหนึ่งปีติดต่อกัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับในวันทำงาน

    3.2 พนักงานมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ตามวันที่พนักงานต้องการและตามความเหมาะสม

    3.3 บริษัทฯไม่มีนโยบายให้พนักงานสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปี ดังนั้นพนักงานจะต้องใช้สิทธิให้หมดในแต่ละปีนั้นๆ

    3.4 พนักงานที่ไม่ใช้สิทธิการลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปีได ทางบริษัทจะชดเชยผลตอบแทนเป็นค่าจ้างรายวันตามจำนวนวันที่เหลือ

    3.5 พนักงานจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าด้วยตัวเองอย่างน้อย 3 วัน และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงหยุดงานได้

  4. การลากิจ

    4.1 พนักงานรายเดือนหากมีความจำเป็นที่ต้องลากิจ จะขอลากิจได้ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน

    4.2 พนักงานรายวันหากมีความจำเป็นที่ต้องลากิจ จะขอลากิจได้ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง 3 วัน (พระราชบัญญัติ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7). พ.ศ. 2562)

    4.3 การลากิจล่วงหน้า พนักงานจะต้องยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน

    4.4 การลากิจฉุกเฉิน กรณีเหตุสุดวิสัยต้องโทรแจ้งผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายบุคคลในโอกาสแรกที่จะทำได้

    4.5 การลากิจทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อนเสมอ, การลาแต่ละครั้งลาได้ไม่เกิน 3 วัน และห้ามลาติดกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่หยุดติดต่อกันหลายวัน (ยกเว้นมีเหตุจำเป็นและผู้บังคับบัญชาอนุมัติ)

  5. การลาป่วย

    5.1 ในกรณีที่เจ็บป่วยจนไม่สามารถจะมาทำงานได้ ให้พนักงานโทรศัพท์แจ้งผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือแจ้งฝ่ายบุคคลให้ทราบภายในวันที่ป่วย

    5.2 พนักงานมีสิทธิขอลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างปีละไม่เกินสามสิบวันทำงาน

    5.3 พนักงานต้องเขียนใบลางานในวันแรกที่กลับมาทำงานพร้อมทั้งแนบใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง (ใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาล)ให้ผู้บังคับบัญชาอนุมัติการลาแล้วมาส่งให้ฝ่ายบุคคล

    5.4 หากพนักงานแจ้งข้อความเท็จในการลาป่วย จะถือเป็นการขาดงาน อีกทั้งยังถือเป็นความผิดทางวินัย บริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างเฉพาะที่ป่วยจริงและมีใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลเท่านั้น โดยพนักงานต้องโทรมาลางานกับหัวหน้างานหรือฝ่ายบุคคลก่อนทุกครั้ง

  6. การลาคลอด

    การลาคลอด พนักงานหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาคลอดได้ ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน (โดยรวมวันหยุดด้วย) และมีสิทธิได้รับค่าจ้าง เท่ากับจำนวนวันที่ลาตามอัตราค่าจ้างที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 45 วัน โดยนับติดต่อกัน ส่วนอีก 49 วันหลังให้ไปรับกับสำนักงานประกันสังคม

  7. การลาทำหมัน

    พนักงานสามารถลาทำหมันได้ โดยยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันและลาได้ตามระยะเวลาที่แพทย์ปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และต้องยื่นแสดงใบรับรองแพทย์ ต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 3 วันหลังจากกลับเข้าทำงาน ในกรณีที่พบว่าแผลที่เกิดจากการทำหมันไม่หาย

  8. การลารับราชการทหาร

    ให้พนักงานมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบเพื่อฝึกวิชาทหารหรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่า ด้วยการรับราชการทหารโดยให้พนักงานได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาและมีระยะเวลาปีละไม่เกิน 60 วัน ในการลารับราชการทหารดังกล่าวนี้ พนักงานต้องยื่นใบลาหยุดงานทันทีที่ได้รับหมายเรียก พร้อมแนบสำเนาหมายเรียกเพื่อขออนุญาตลา หากพนักงานไม่ยื่นใบลาให้ถูกต้อง ตามระเบียบข้อนี้จะถือว่าเป็นการขาดงาน รวมทั้งต้องนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงต่อบริษัทฯภายใน 7 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดการระดม พลเพื่อตรวจสอบ หรือฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อม

การว่าจ้าง
  1. นโยบาย ข้อความในหมวดนี้รวมถึงกระบวนการว่าจ้าง อันได้แก่ การสรรหา คัดเลือก บรรจุแต่งตั้ง และโยกย้ายพนักงานเมื่อมีตำแหน่งว่าง บริษัทฯ จะพยายามสรรหา คัดเลือก และ บรรจุแต่งตั้งบุคคลให้มาดำรงตำแหน่งที่ว่างนั้น โดยพิจารณาบุคคลภายในที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อน แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯทรงไว้ซึ่งสิทธิและอำนาจในการพิจารณา สรรหา คัดเลือก และบรรจุแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งต่างๆ จากบุคคลภายนอก ได้ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมและความเท่าเทียมกัน
  2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจ้างงาน

    2.1 การจ้างบุคคลเข้าทำงานต้องเป็นไปตามอัตรากำลังคนที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น การเพิ่มหรือการลดอัตรากำลังคนให้เป็นไปตามที่ได้รับการอนุมัติโดยกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดที่ได้รับมอบหมาย

    2.2 กรรมการผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจโดยแต่งตั้งเป็นผู้มีอำนาจในการสรรหา ทดสอบ สัมภาษณ์ คัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง ให้เข้าทำงาน โยกย้าย เปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงาน หรือให้ออกจากงาน

    2.3 บริษัทฯทรงไว้ซึ่งสิทธิจะให้พนักงานไปทำงานนอกสถานที่ได้

  3. ประเภทของพนักงาน เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบริษัทฯจำแนกประเภทของพนักงานไว้ ดังนี้

    3.1 พนักงานรายดือน คือ พนักงานที่บริษัทฯ ตกลงจ้างโดยกำหนดค่าจ้างเป็นรายเดือน

    3.2 พนักงานรายวัน คือ พนักงานที่บริษัทฯ ตกลงจ้างโดยกำหนดค่าจ้างเป็นรายวัน

    3.3 พนักงานตามผลงาน คือ พนักงานที่บริษัทฯ ตกลงจ้างโดยกำหนดค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวนเป็นหน่วย

    3.4 พนักงานทดลองงาน คือ พนักงานบริษัทฯมีหนังสือให้ทดลองงาน

    3.5 พนักงานตามสัญญาจ้างพิเศษ คือ พนักงานที่บริษัทฯ ทำสัญญาจ้างกับพนักงานในกรณีต่าง ๆ

  4. พนักงานใหม่จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่อไปนี้

    4.1 รูปถ่ายปัจจุบันขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ

    4.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมฉบับจริง

    4.3 สำเนาทะบียนบ้าน

    4.4 หลักฐานการศึกษา

    4.5 หลักฐานอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ใบรับรองการอบรมต่างๆ หนังสือรับรองการผ่านงาน เป็นต้น

  5. ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ใดๆเป็นพิเศษ อีกทั้งไม่มีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใด เว้นแต่จะได้รับควานยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ ก่อน
นโยบายการใช้แรงงานบังคับ (Forced Labor)

บริษัทฯ กำหนดนโยบายชัดเจนจะไม่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการใช้แรงงานบังคับเพื่อประโยนช์ของบริษัทฯ รวมถึงโรงงานคู่สัญญาและผู้ขายสินค้าต่างๆให้กับบริษัทฯ

แรงงานบังคับ หมายถึง การว่าจ้างการกำหนดเงื่อนไขการว่าจ้างหรือการมอบหมายให้บุคคลทำงานโดยบุคคลนั้นไม่สมัครใจ ทั้งนี้จะอาศัยวิธีการหรืออ้างเหตุผลเพื่อการลงโทษ การหักหนี้ การข่มขู่ การยึดบัตรประจำตัว หรือหลักฐานประจำตัว หรือวิธีอื่นใดก็ตาม

  1. การมอบหมายงาน
    บริษัทฯอนุญาต หรือมอบหมายงานให้พนักงานทำงานโดยที่พนักงานไม่สมัครใจทำ
  2. ความมีอิสระที่จะไปยังสถานที่ต่าง ๆ
    บริษัทฯอนุญาต ให้พนักงานไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระภายในที่ทำงานของตน ในช่วงเวลาทำงาน รวมถึง การไปยังสถานที่พักดื่มน้ำ ห้องน้ำ และการออกจากสถานที่ทำงานในช่วงเวลาพักรับประทานอาหาร หรือหลังชั่วโมงทำงาน
  3. การบังคับทำงานล่วงเวลา
    บริษัทฯจะต้องให้พนักงานทราบตั้งแต่เมื่อมีการจ้างงาน หากว่าการทำงานล่วงเวลาถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการทำงาน ถ้ากฏหมายไม่อนุญาตให้มีการทำงานล่วงเวลาเวลาแบบที่กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ บริษัทฯจะต้องไม่บังคับพนักงานให้ทำงานล่วงเวลา
  4. แรงงานต่างด้าว
    บริษัทฯจะไม่เก็บเอกสารส่วนตัว เช่น ใบอนุญาตเดินทาง โดยถือเป็นเงื่อนไขในการว่าจ้าง แต่บริษัทฯ อาจช่วยเก็บรักษาเอกสารดังกล่าวไว้ ถ้าพนักงานต้องการที่จะมอบเอกสารดังกล่าวด้วยความสมัครใจเพื่อความปลอดภัย และบริษัทฯ จะส่งเอกสารคืนให้พนักงานทันทีเมื่อพนักงานร้องขอ
วันและสถานที่ที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

บริษัทฯ กำหนดจ่ายค่าจ้างในวันทำงาน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่พนักงานในวัน ทำงานปกติ ณ ที่ทำการของบริษัทฯ หรือจ่ายผ่านธนาคาร ซึ่งให้พนักงานเปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารที่บริษัทฯ ได้แจ้งให้ พนักงานทราบโดยได้รับความยินยอมจากพนักงาน ดังนี้

  1. พนักงานรายเดือนและรายวัน จ่ายทุกวันสิ้นเดือน
    กรณีวันที่จ่ายค่าจ้างในวันทำงาน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวัยหยุดตรงกับวันหยุดธนาคาร หรือ วันหยุดของบริษัทฯ บริษัทฯจะจ่ายก่อนวันหยุด 1 วัน วันทำงาน และบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงวันที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยจะปิดประกาศให้ทราบตามตารางการจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าในแต่ละปี
นโยบายการทำงานล่วงเวลา

บริษัทฯไม่มีความประสงค์จะให้พนักงานของบริษัทฯทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด เว้นแต่กรณี จำเป็นที่งานต้องทำอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯหรือลูกค้าของบริษัทฯ ชั่วโมงทำงานปกติของพนักงานจะต้องทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อรวมชั่วโมงการทำงานปกติ กับชั่วโมงทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุดแล้วต้องไม่เกิน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือกรณีหากมีความจำเป็นด้านธุรกิจ การบริหารการผลิตกำหนดให้ ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด ต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อรวมชั่วโมงการทำงานปกติ กับชั่วโมงทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุดแล้วต้องไม่เกิน 84 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กรณีจะให้มีการทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

  1. การทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดต้องได้รับคำสั่งโดยตรงจากผู้จัดการฝ่ายต้นสังกัด
  2. พนักงานยินยอมทำงานด้วยความสมัครใจ และให้มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน-หลังทำงาน
  3. กรณีพนักงานทำงานติดต่อกัน 6 วัน พนักงานจะต้องได้หยุด 1 วัน
  4. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำ
    - งานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
    - งานที่ขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
    - งานยก แบก หาม ทูน ลากหรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
    - งานที่ทำในเรือ
    - การทำงานระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น.
    - การทำงานล่วงเวลา
    - การทำงานในวันหยุดและปฏิบัติตามกฎกระทรวง
วินัยและโทษทางวินัย
  1. วัตถุประสงค์ บริษัทฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในหมวดนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

    1.1 เพื่อเป็นแนวทางของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณา ส่งเสริม แก้ไข หรือปรับปรุงความประพฤติของผู้ใต้บังคับบัญชา

    1.2 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อพนักงานในเรื่องวินัยในการปฏิบัติของบริษัทฯ

    1.3 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับ อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของพนักงานบริษัทฯ

    1.4 เป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้การดำเนินกิจการของบริษัทฯบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความมีระเบียบ เป็นธรรม ถูกต้องตามกฏหมายและก่อให้เกิดความสงบสุขในการทำงานร่วมกัน

  2. นโยบาย บริษัทฯได้วางนโยบายในเรื่องวินัยของพนักงานไว้ดังนี้

    2.1 ผู้บังคับบัญชาจะต้องพยายามป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการลงโทษทางวินัย ด้วยการใช้หลักเกณฑ์การบริหารบุคคลหรือการปกครองที่ดี

    2.2ตามปกติแล้วการดำเนินลงโทษทางวินัยจะทำเป็นขั้นตอน เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสปรับปรุงตนเอง นอกเสียจากความผิดนั้นมีลักษณะร้ายแรง

  3. วินัยพนักงาน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันพนักงานจะต้องปฏิบัติระเบียบดังต่อไปนี้

    3.1 วินัยทั่วไป

    • 3.1.1 ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีอยู่ในระเบียบและกฏเกณฑ์ของสังคมไม่ประพฤติชั่วกระทำหรือร่วมกัน กระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดกฏหมายของบ้านเมืองทั้งในและนอกบริเวณบริษัท ฯ
    • 3.1.2 เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฏเกณฑ์ต่างๆของบริษัทฯที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
    • 3.1.3 แจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของตนเองให้บริษัทฯทราบในกรณีเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล ที่อยู่อาศัย สมรส / หย่าร้าง มีบุตร บุคคลในครอบครัวเสียชีวิตเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน สน ทั้งนี้ภายในเจ็ดวัน นับจากวันที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละกรณี
    • 3.1.4 รักษาความสะอาด ไม่ทิ้งสิ่งของหรือสิ่งปฏิกูลใดๆนอกภาชนะที่บริษัทฯ จัดไว้ ช่วยกันดูแลประหยัดการใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้พลังงานและสิ่งอื่นๆให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด
    • 3.1.5 ไม่มาทำงานสาย ไม่กลับก่อนเวลา หรือไม่ลาหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือเป็นการพร่ำเพรื่อ
    • 3.1.6 ไม่ช่วยเหลือ สนับสนุน ชักจุง รู้เห็นเป็นใจ หรือเพิกเฉยต่อการกระทำความผิดของพนักงาน
    • 3.1.7 ห้ามรับจ้างทำงานให้ผู้อื่นหรือดำเนินธุรกิจใดๆอันอาจเป็นผลกระทบกระเทือนเวลาทำงานหรือกิจการของบริษัทฯ
    • 3.1.8 ห้ามนำสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯไปใช้ในประโยชน์ส่วนตัวหรือใช้เพื่อการอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของบริษัทฯโดยไม่ได้รับอนุญาต
    • 3.1.9 ระมัดระวังดูรักษาสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบเมื่อทำสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯเสียหายหรือสูญหาย
    • 3.1.10 ไม่ประพฤติตนหรือกระทำการใดๆให้บริษัทฯเสื่อมเสียชื่อเสียงหรืออาจได้รับความเสียหาย
    • 3.1.11 ไม่เปิดเผยข้อมูล หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย
    • 3.1.12 ไม่ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทบุคคลอื่น หรือเหยียดหยามผู้บังคับบัญชาหรือลูกค้า หรือผู้มาติดต่อ หรือกระทำอื่นๆที่เป็นการอันไม่สมควร
    • 3.1.13 หากพนักงานหญิงตั้งครรภ์ให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาเป็นลายลักษณ์อักษร
    • 3.1.14 ห้ามรับประทานอาหารในระหว่างเวลาทำงาน ณ สถานที่ปฏิบัติงาน ควรจะรับประทานอาหารในสถานที่ที่บริษัทฯได้จัดไว้ให้
    • 3.1.15 พนักงานต้องปฏิบัติตามระเบียบ / ประกาศ / ป้ายเตือน / ป้ายห้าม / ป้ายจราจร / ป้ายอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยเคร่งครัด

    3.2 ระเบียบการเข้าหรือออกบริเวณบริษัทฯ

    • 3.2.1 พนักงานที่บริษัทฯ กำหนดให้บันทึกเวลาทำงาน ต้องบันทึกเวลาด้วยตัวเองทุกครั้งเมื่อเข้าทำงานเลิกงาน และ / หรือ ตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดห้ามบันทึกเวลาแทนผู้อื่น หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้ผู้อื่นบันทึกเวลาให้ หากใครฝ่าฝืน บริษัทฯ จะถือเป็นความผิดร้ายแรง ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดจะต้องได้รับโทษทางวินัย อาจถึงขั้นเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น
    • 3.2.2 พนักงานที่เข้ามาในบริเวณของบริษัทฯ จะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
    • 3.2.3 พนักงานที่จะออกจากสถานที่ทำงานในระหว่างเวลาทำงาน และเวลาพักของตนเองไม่ว่ากรณีใดต้องปฏิบัติตามระเบียบที่บริษัทฯกำหนดทุกครั้ง และในกรณีที่เป็นการออกจากบริษัทฯโดยไม่กลับมาอีกให้บันทึกเวลาด้วย
    • 3.2.4 พนักงานที่ต้องไปปฏิบัติงานภายนอกบริษัทฯ ซึ่งไม่สามารถบันทึกเวลาทำงานได้ จะต้องรับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตามสายงานเป็นหนังสือก่อนไป ปฏิบัติงานดังกล่าว ยกเว้นกรณีเร่งด่วนอาจให้ผู้บังคับบัญชารับรองภายหลังได้
    • 3.2.5 ห้ามพนักงานผู้ซึ่งถูกบริษัทฯสั่งพักงานในทุกกรณี เข้ามาในบริเวณบริษัทฯโดยไม่ได้รับอนุญาต
    • 3.2.6 ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานต่อยามรักษาการณ์เมื่อผ่านเข้าบริษัทฯ หรือ เพื่อยามรักษาการณ์ขอให้แสดง
    • 3.2.7 นอกจากการทำงานตามหน้าที่ ห้ามเข้ามา หรืออยู่ภายในสถานที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
    • 3.2.8 การนำสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ ออกจากบริษัทฯ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม จะต้องแสดงใบอนุญาตนำสิ่งของหรือทรัพย์สินที่จะนำออกไปนั้นต่อยามรักษาการณ์
    • 3.2.9 ต้องให้ยามรักษาการณ์ตรวจสิ่งของที่นำติดตัวมาเข้ามา หรือเมื่อออกจากบริษัทฯ การขัดขืนหรือไม่ยินยอมให้ตรวจค้น หรือไม่มีหนังสือนำของออกอย่างถูกต้อง จะถือว่าเป็นการละเลย ปฏิเสธหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัทฯ
    • 3.2.10 ไม่ใช้เวลาทำงานเพื่อต้องรับ หรือพบปะผู้มาเยือนในธุรกิจส่วนตัว หากจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน และให้ใช้สถานที่ตามที่บริษัทฯ จัดไว้โดยใช้เวลาเท่าที่จำเป็น
    • 3.2.11 ห้ามนำสัตว์เลี้ยงใด ๆ เข้ามาในบริเวณบริษัทฯ
    • 3.2.12 ห้ามนำเข้าหรือเสพ หรือมีใว้ครอบครองซึ่งอาวุธ ยาเสพติด สิ่งมึนเมา หรือสิ่งที่ผิดกฏหมายภายในบริเวณบริษัทฯ
    • 3.2.13 ห้ามพนักงานที่อยู่ในลักษณะมึนเมาเข้ามาในบริเวณบริษัทฯ

    3.3 การมาทำงาน

    • 3.3.1 พนักงานต้องมาทำงานอย่างปกติและสม่ำเสมอตามวันเวลาทำงานที่บริษัทฯ กำหนด
    • 3.3.2 พนักงานต้องปฏิบัติตามระเบียบในเรื่องการลงเวลาเข้าและออกงานโดยเคร่งครัด
    • 3.3.3 พนักงานต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการลา หรือการหยุดงานโดยเคร่งครัด
    • 3.3.4 พนักงานต้องปฏิบัติตามกำหนดการและเวลาในเรื่องการเข้าทำงาน การออกไปและการกลับเข้ามาในการปฏิบัติงานนอกบริษัทฯและการเลิกงาน
    • 3.3.5 พนักงานห้ามทำบัตรบันทึกเวลาชำรุดสูญหาย หรือแก้ไขข้อความใดๆถ้ามีการแก้ใขหรือเพิ่มเติมในบัตรลงเวลาจะต้องให้ผู้บังคับบัญชาเซ็นต์รับรองด้วยทุกครั้ง
    • 3.3.6 บัตรลงเวลาหรือเครื่องบันทึกเวลาอัตโนมัติ ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการมาปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งจะนำมาคำนวนค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และใช้ประกอกพิจารณาผลงานประจำปีเงินรางวัลพิเศษ (โบนัส) และอื่น ๆ
    • 3.3.7 พนักงานต้องมาปฏิบัติหน้าที่ตามเวลาทำงานที่บริษัทฯกำหนดไว้ ถ้าบันทึกเวลาหลังจากที่บริษัทฯ กำหนดจะถือว่ามาสาย ซึ่งจะมีผลต่อการประเมินผลการทำงานของพนักงานเอง
    • 3.3.8 เมื่อบันทึกเวลาทำงานแล้ว พนักงานต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ประจำหรือตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจนกว่าจะถึงเวลาเลิกงาน

    3.4 การปฏิบัติหน้าที่

    • 3.4.1 พนักงานต้องปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อบริษัทฯมีคำสั่งให้โยกย้ายพนักงาน ไปประจำหน่วยงานใดไม่ว่าจะเป็นชั่วคราวหรือการถาวร
    • 3.4.2 พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร
    • 3.4.3 พนักงานต้องใช้เวลาในการทำงานทั้งหมดของตนให้เป็นประโยชน์ต่องานตามหน้าที่
    • 3.4.5 ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริษัทฯพนักงานจะต้องติดบัตรประจำตัวของพนักงานให้เป็นที่เห็นชัดอยู่ตลอดเวลา
    • 3.4.6 พนักงานต้องไม่ทำงานให้กับบุคคลหรือองค์กรอื่นใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้รับค่าจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
    • 3.4.7 พนักงานต้องไม่เสพสุรา หรือยาเสพติด หรืออยู่ในอาการมึนเมาภายในบริเวณบริษัทฯ หรือขณะปฏิบัติหน้าที่
    • 3.4.8 ห้ามนำบุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณบริษัทฯโดยไม่ได้รับอนุญาต
    • 3.4.9 ห้ามสูบบุหรี่ภายในบริเวณบริษัทฯ เว้นแต่สถานที่ที่บริษัทฯได้กำหนดไว้
    • 3.4.10 ห้ามฝ่าฝืนระเบียบการแต่งชุดทำงาน
    • 3.4.11 ห้ามใช้เครื่องมือ เครื่องจักร โดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
    • 3.4.12 ห้ามรับประทานอาหาร หรือของขบเคี้ยวในเวลาทำงาน
    • 3.4.13 ห้ามละทิ้งหน้าที่ หรือขาดงาน
    • 3.4.14 ห้ามทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
    • 3.4.15 พนักงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่ หรือความรับผิดชอบตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
    • 3.4.16 พนักงานจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ในกรณีเลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย หรือการมอบหมายงาน
    • 3.4.17 พนักงานจะต้องพึงรักษาสุขภาพของตนให้พร้อมที่จะทำงานให้กับบริษัทฯ
    • 3.4.18 พนักงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของพนักงานรักษาความปลอดภัย
    • 3.4.19 พนักงานจะต้องปฏิบัติตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด วิธีการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน
    • 3.4.20 พนักงานจะต้องสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย
    • 3.4.21 กรณีที่พนักงานแสดงเจตนาที่จะทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดแล้ว แต่กรณีไม่มาปฏิบัติงานนั้นโดยไม่มีเหตุอันควรและส่งผลให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย บริษัทฯอาจจะพิจารณาโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
    • 3.4.22 พนักงานจะต้องไม่เข้าไปก้าวก่ายหน้าที่ของพนักงานอื่น และต้องไม่เข้าไปในบริเวณหรือพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตปฏิบัติงานหน้าที่ของตน เว้นแต่มีความจำเป็นต้องเข้าไปติดต่อธุระและได้รับอนุญาตจากหัวหน้าแผนกแล้ว

    3.5 การรักษาความลับของบริษัทฯ

    • 3.5.1 พนักงานต้องรักษาความลับของลูกค้าของบริษัทฯ และพนักงานอื่น หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
    • 3.5.2 พนักงานต้องรักษาความลับและชื่อเสียงของบริษัทฯ
    • 3.5.3 พนักงานต้องไม่เปิดเผยค่าจ้างหรือเงินเดือน อัตราการขึ้นเงินเดือนของตนเองหรือของผู้อื่นจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตามทำให้พนักงานผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้ทราบ

    3.6 การรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ

    • 3.6.1 พนักงานต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจอื่นใด อันอาจมีผลกระทบกระเทือนถึงประโยชน์ของบริษัทฯหรือเป็นการแข่งขันกับบริษัทฯ
    • 3.6.2 พนักงานต้องไม่ปฏิบัติสิ่งใดอันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม
    • 3.6.3 พนักงานต้องรักษาและเสริมสร้างชื่อเสียงอันดีงามของบริษัทฯ
    • 3.6.4 พนักงานต้องรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ โดยถือเสมือนว่าเป็นผลประโยชน์ของตนเอง

    3.7 การใช้และการระวังรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ

    • 3.7.1 พนักงานต้องไม่สูบบุหรี่ หรือก่อให้เกิดประกายไฟในสถานที่ซึ่งเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุซึ่งเป็นเชื้อเพลิงภายในบริเวณบริษัทฯ หรือขณะปฏิบัติหน้าที่ ยกเว้นสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้
    • 3.7.2 พนักงานต้องไม่นำอุปกรณ์ทรัพย์สินของบริษัทฯไปใช้นอกเหนือจากการทำงานให้แก่บริษัทฯ
    • 3.7.3 พนักงานต้องระวังทรัพย์สินของบริษัทฯมิให้สูญหายหรือถูกทำลายไป แม้จะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของตนเอง
    • 3.7.4 พนักงานต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงวิธีการใช้และคำแนะนำในด้านความปลอดภัยของทรัพย์สินของบริษัทฯก่อนจะใช้เสมอ
    • 3.7.5 พนักงานต้องใช้และบำรุงรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯเสมือนบุคคลทั่วไปพึงใช้และบำรุงรักษาทรัพย์สินของตนเอง
    • 3.7.6 พนักงานต้องปฏิบัติตามคำสั่ง หรือระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

    3.8 ความซื่อสัตย์สุจริต

    • 3.8.1 พนักงานต้องไม่เปลี่ยนแปลง ปลอม แก้ไข ตัดทอน หรือทำลายเอกสารต่างๆ ของบริษัทฯหรือเอกสารที่มีการเกี่ยวข้องระหว่างบริษัทฯ กับพนักงานโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะกระทำการดังกล่าว
    • 3.8.2 พนักงานต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของตนตามที่บริษัทฯต้องการแก่บริษัทฯ ตามความเป็นจริงและถ้าข้อมูลที่ได้แจ้งไว้แล้วไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พนักงานต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องให้กับบริษัทฯทราบโดยเร็วที่สุด
    • 3.8.3 พนักงานต้องให้ความร่วมมือกับบริษัทฯ ในการสอบสวนเรื่องราวต่างๆ ที่บริษัทฯ ต้องการและในการร่วมมือดังกล่าวพนักงานจะต้องกระทำการต่างๆด้วยความสุจริต
    • 3.8.4 พนักงานต้องไม่อาศัยอำนาจหน้าที่ หรือโอกาสในการทำงานกับบริษัทฯเพื่อแสวงหาประโยชน์ใดๆอันขัดต่อจรรยาวิชาชีพของตน ระเบียบประเพณีในการทำงาน กฎหมาย หรือขัดต่อผลประโยนช์ของบริษัทฯ
    • 3.8.5 พนักงานต้องไม่แจ้งข้อความเท็จหรือลาป่วยเท็จต่อผู้บังคับบัญชาหรือบริษัทฯ
    • 3.8.6 พนักงานต้องยินยอมให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทฯตรวจในกรณีที่เกิดความสงสัยว่าจะมีสิ่งของที่ผิดกฏหมายหรือได้มาจากการกระทำผิดกฏหมาย หรืออาวุธอยู่ในตัวพนักงาน
    • 3.8.7 พนักงานต้องไม่ปกปิด หรือบิดเบือนความจริงเพื่อได้มาซึ่งประโยชน์ของตนและผู้อื่น
    • 3.8.8 พนักงานต้องไม่แจ้งหรือให้ข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
    • 3.8.9 พนักงานต้องรักษาไว้ซึ่งงานในหน้าที่ในลักษณะสร้างเสริม หรือรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและไม่จงใจหรือเจตนาปฏิบัติงานให้ล่าช้า
    • 3.8.10 พนักงานจะต้องบริการลูกค้าอย่างเต็มความสามารถ หรือจะต้องรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯอย่างสูงสุด

    3.9 ความประพฤติ

    • 3.9.1 พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ ความในข้อนี้หมายความรวมถึงสถานที่อื่น เมื่อบริษัทฯ จัดงาน หรือมีงานนอกสถานที่บริษัทฯหรือในขณะทำงานนอกสถานที่และรถรับ-ส่ง
    • 3.9.2 พนักงานต้องเป็นผู้ตรงต่อเวลาในการนัดหมายอันเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
    • 3.9.3 พนักงานต้องไม่พกอาวุธ หรือครอบครองสิ่งผิดกฏหมายเข้ามาในบริษัทฯหรือในขณะปฏิบัติหน้าที่
    • 3.9.4 พนักงานต้องประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี หรือไม่ประพฤติชั่วร้ายอย่างร้ายแรงทั้งในและนอกบริษัทฯ
    • 3.9.5 พนักงานต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบธรรมของผู้บังคับบัญชา หรือบริษัทฯทั้งคำสั่งด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษรและการสื่อข้อความอื่นๆ
    • 3.9.6 พนักงานต้องเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ไม่พูดจาไม่สุภาพ ก้าวร้าว หรือแสดงข้อความ หรือแสดงกิริยาอาการเป็นการส่อเสียดเหยียดหยาม ประณาม หรือดูหมิ่นพนักงานอื่น หรือผู้บังคับบัญชา
    • 3.9.7 พนักงานต้องไม่ยุยง ส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีการทะเลาะวิวาทหรือการทำร้ายร่างกายในหมู่พนักงานบริษัทฯหรือระหว่างพนักงานของบริษัทฯกับบุคคลภายนอก
    • 3.9.8 พนักงานต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการผิดกฏหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนาถึงแม้ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม เช่น เล่นการพนัน
    • 3.9.9 พนักงานต้องไม่เล่นการพนันในบริเวณบริษัทฯหรือห้ามเล่นพนันในขณะปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ทำงาน หรือส่งสริมให้มีการเล่นการพนันหรือมีหนี้สินจากการเล่นพนันหรือถูกจับกุมเนื่องจากเล่นการพนันในสถานที่ทำงาน
    • 3.9.10 พนักงานต้องไม่กระทำการล่วงเกินทางเพศซึ่งกันและกันในเวลาทำงานหรือในสถานที่ทำงาน หรือในบริเวณที่บ้านพัก หรือบนรถรับ-ส่งพนักงาน

  4. บทลงโทษ
    วินัยของพนักงานตามที่ระบุมานี้พนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และ อนุโลมบังคับใช้ถึงบ้านพักหรือรถรับ-ส่งพนักงานด้วย ถ้าพนักงานผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติใดๆอันถือว่าเป็นการฝ่าฝืนวินัยดังกล่าวจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยตามลักษณะแห่งความผิด ทางวินัยหรือความหนักเบาของการกระทำผิด หรือร้ายแรงเกิดขึ้น การลงโทษจะเป็นไปตามข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อรวมกันก็ได้ตามบทลงโทษบริษัทฯกำหนดบทลงโทษทางวินัยไว้ 3 ประการดังนี้

    4.1 การตักเตือนด้วยวาจา โดยบันทึกเป็นรายงานไว้เป็นหลักฐาน 1 ครั้ง

    4.2 การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง 2 ครั้ง ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

    4.3 การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

  5. การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
    ผู้มีอำนาจลงโทษมีเกณฑ์ในการพิจารณาพนักงานผู้กระทำผิด ดังนี้

    5.1 ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความอาญาโดยเจตนาแก่บริษัทฯ

    5.2 จงใจทำให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย

    5.3ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

    5.4 ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของบริษัทฯ อันชอบด้วยกฏหมายและเป็นธรรมและบริษัทฯด้ตักเตือนเป็นหนังสือ เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด

    5.5 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

    5.6 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

  6. เลิกจ้าง
    ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้

    6.1 ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน

    6.2 ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน

    6.3 ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน

    6.4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน

    6.5 ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน

    6.6 ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน

    สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัตรใจโดยจะยึดถือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เป็นหลัก
  7. ในกรณีที่พนักงานทำผิดวินัย บริษัทฯจะมีคำสั่งพักงานระหว่างสอบสวนเป็นหนังสือโดยระบุความผิด และกำหนดระยะเวลาพักงาน
    เพื่อสอบสวนได้ไม่เกินเจ็ดวัน โดยจะแจ้งให้พนักงานทราบก่อนพักงานในระหว่างการพักงาน บริษัทฯจะจ่ายเงินให้พนักงานตามอัตราที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานเมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น แล้วปรากฏว่าพนักงานไม่มีความผิดบริษัทฯจะจ่ายจ้างให้แก่พนักงานเท่ากับร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานนับตั้งแต่วันที่พนักงานถูกสั่งพักงาน
  8. บริษัทฯขอสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมกฏระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯเพื่อความเหมาะสมตามสภาพของสถานการณ์หน้า
  9. ผู้มีอำนาจพิจารณาและดำเนินการลงโทษทางวินัย คือ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้บังคับบัญชาแต่ละแผนกเป็นผู้ลงโทษ หรือบุคคลที่ได้รับการมอบหมาย
นโยบายการปฏิบัติที่มิชอบ และการล่วงละเมิด

เพื่อให้การปฏิบัติต่อกันของพนักงาน หรือการปฏิบัติของผู้บริหาร หัวหน้างานต่อผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ และให้เกียรติโดยปราศจากการปฏิบัติที่มิชอบ และการล่วงละเมิดต่อกันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจาทางความคิด และทางเพศซึ่งผู้บริหาร พนักงานทุกคนของบริษัทฯ รวมถึงลูกค้า หรือผู้มาติดต่อในบริษัทฯต้องปฏิบัติตามนโยบาย โดยไม่มีข้อยกเว้น
ลักษณะการปฏิบัติที่มิชอบและการล่วงละเมิด ดังนี้

  1. การล่วงละเมิดทางกาย หมายถึง การใช้กำลังทำร้ายร่างกาย หรือ การข่มขู่ทางร่างกาย
  2. การล่วงละเมิดทางวาจา หมายถึง การดุด่า ว่ากล่าว โดยใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ การข่มขู่ หรือการดูหมิ่นพนักงาน
  3. การล่วงละเมิดความคิด หมายถึง การใช้คำพูด หรือการกระทำในอันที่จะทำลายความน่าเชื่อถือในตัวของพนักงาน
  4. การล่วงละเมิดทางเพศ หมายถึง

    4.1 การเสนอสิทธิพิเศษในการที่จะมอบหมายงานบางอย่างให้ หรือสิทธิพิเศษในการกระทำใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมโดยถือเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการมีสัมพันธ์ทางเพศ

    4.2 การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อพนักงานในทุกรูปแบบ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิเสธที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศ

    4.3 การวิจารณ์ การเฝ้าสังเกตที่แสดงออกในเชิงทางเพศ ที่ไม่สมควร และรวมถึงการสัมผัสทางกายที่แฝงความหมายทางเพศ

    4.4 การปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องเพศ

  5. การล่วงละเมิดทางด้านอื่น เช่น การหน่วงเหนี่ยวในช่วงเวลาพักระหว่างทำงาน การพักดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ การหน่วงเหนี่ยว
    กีดกันพนักงานไม่ให้ไปยังสถานที่ต่างๆในช่วงเวลาทำงานโดยไม่มีเหตุผลอันควรรวมถึงการดูแลสุขภาพ หรือ ความจำเป็นพื้นฐานอื่นๆ ของมนุษย์ พนักงานที่ถูกละเมิด หรือรู้เห็นการกระทำละเมิดดังกล่าวสามารถร้องทุกข์ได้ โดยผ่านกล่องรับความคิดเห็น หรือ ทางโทรศัพท์ "สายด่วน" ติดต่อกับหน่วยงานรับร้องทุกข์ที่บริษัทฯได้จัดไว้โดยตรงซึ่งขั้นตอนการร้องทุกข์ การสอบหาข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวจะปิดเป็นความลับ
    บทลงโทษผู้กระทำการปฏิบัติที่มิชอบ หรือการล่วงละเมิด ให้ขึ้นอยู่กับผล หรือลักษณะของความผิด ซึ่งบริษัทฯ

    5.1 ลงโทษทางวินัยตามบทลงโทษที่กำหนดในระเบียบข้อบังคับฯซึ่งกำหนดโทษสูงสุดคือการเลิกจ้าง

    5.2 ผู้กระทำจะต้องขอโทษผู้ถูกข่มขู่ หรือถูกล่วงละเมิด

    5.3 ส่งตัวเข้ารับอบรมเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ

    5.4 ถูกโยกย้ายตำแหน่งหรือจุดปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการข่มขู่ หรือล่วงละเมิดใดๆ

    5.5 กรณีที่กฏหมายกำหนดไว้ บุคคลต้องรับผิดต่อการข่มขู่ หรือล่วงละเมิดดังกล่าว ผู้กระทำจะต้องถูกส่งตัว ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินคดีตามกฏหมาย

นโยบายการไม่เลือกปฏบัติ (NON DISCRIMINATION)

เพื่อให้การปฏิบัติต่อพนักงานมีความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน มีหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐาน โดยไม่คำนึงถึงเพศ อายุ สัญชาติ ศาสนา สีผิว สถานการณ์สมรส ความโน้มเอียงทางเพศ สถานภาพทหาร ความทุพพลภาพ สถานภาพสังคม หรือปัจจัยอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องการทำงาน บริษัทฯจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติ ดังนี้

  1. บริษัทฯจะปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และสอดคล้องตามกฏหมาย
  2. บริษัทฯจะปฏิบัติต่อพนักงานด้วยด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกันในเรื่องการว่าจ้าง การให้สวัสดิการ การจ่ายค่าจ้าง การเลื่อนตำแหน่ง การลงโทษ หรือการลาออก โดยพิจารณาจากคุณวุฒิทางการศึกษาและความสามารถในการทำงานของพนักงานเท่านั้น
  3. บริษัทฯจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฏหมาย ที่ระบุให้รับผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกายเข้าทำงานตามสัดส่วนที่กฏหมายกำหนด
  4. บริษัทฯจะเคารพสิทธิของพนักงาน โดยจะไม่เรียกร้องให้ผู้ที่จะรับเข้ามาเป็นพนักงานเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
นโยบายการใช้แรงงานเด็ก

เพื่อความชัดเจน และเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เรื่อง การใช้แรงงานเด็กบริษัทฯจึงกำหนดนโยบายไม่รับผู้สมัครที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีตามเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดเข้าเป็นพนักงานของบริษัทฯ

กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับพนักงานเข้าทำงานตรวจสอบความถูกต้องของสำเนาเอกสารทุกฉบับที่ใช้ประกอบการสมัครงานจะต้องเป็นสำเนาที่ถ่ายจากฉบับจริงเท่านั้น
สิทธิของพนักงานหญิง

เพื่อเป็นการปฏิบัติต่อพนักงานหญิงอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกันกับเพศอื่น ในทุกด้าน บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายชัดเจนในหลักการปฏิบัติเรื่อง การว่าจ้าง การให้สวัสดิการและการไม่เลือกปฏิบัติดังนี้

บริษัทฯ จะไม่ดำเนินการตรวจ หรือสอบถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ทั้งใบสมัครงาน หรือจากผู้มาสมัครงาน เพื่อเป็นเหตุผลประกอบการพิจารณารับเข้าทำงาน การว่าจ้าง และจะไม่ใช้ภาวะการตั้งครรภ์ของพนักงานเป็นเหตุผลในการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง หรือการเลิกจ้าง

การตรวจการตั้งครรภ์จะกระทำได้โดยเป็นความต้องการ และความสมัครใจของพนักงานเป็นลายลักษณ์อัษรเท่านั้น

การทำงานที่ปลอดภัย

เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของแม่และเด็กที่ยังอยู่ในครรภ์ บริษัทฯจะจัดให้พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ ไปทำงานที่ไม่เสี่ยงต่ออันตรายและจะจำกัดชั่วโมงการทำงานให้เหมาะสมต่อสุขภาพ โดยบริษัทฯจะดูแลเรื่องความปลอดภัยให้กับพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นพิเศษ

สวัสดิการ

บริษัทฯ จะปฏิบัติตามกฏหมายในเรื่องการลาหยุด การลาคลอด และการให้สวัสดิการหลังการคลอด ค่าตอบแทนแรงงาน และสวัสดิการอื่นๆ เมื่อพนักงานหญิงกลับมาทำงาน

การไม่เลือกปฏิบัติ

บริษัทฯ จะส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันของพนักงานชาย และหญิงในสถานที่ทำงาน และไม่กีดกันพนักงานหญิงในเรื่องค่าจ้าง การกำหนดค่าจ้าง การเลื่อนตำแหน่ง หรือการให้รางวัลพิเศษ และการเลิกจ้าง โดยจะพิจารณาจากความสามารถของพนักงานเท่านั้น

เสรีภาพในการสมาคมและเจรจาต่อรอง

เพื่อให้เป็นตามกฏหมายของประเทศและอนุสัญญขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องการเจรจาต่อรอง และ เสรีภาพ ในการสมาคมของพนักงาน โดยพนักงานมีสิทธิที่จะเข้าร่วม หรือปฏิเสธที่จะเข้าร่วมองค์กร หรือสมาคมที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพนักงานในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการทำงาน ได้อย่างอิสระ ตั้งแต่การเริ่มว่าจ้าง และการดำเนินไปตลอดการว่าจ้างนั้น บริษัทฯได้กำหนดระเบียบปฏิบัติดังนี้

  1. บริษัทฯจะไม่ใช้กำลังหรือการปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อบีบบังคับพนักงานหรือกีดกันการรวมตัวของพนักงานที่กระทำอย่างสงบ
  2. บริษัทฯจะไม่ขับไล่ ลงโทษหรือใช้อำนาจบังคับ หรือข่มขู่พนักงานที่ต้องการใช้สิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม ซึ่งหมายความรวมถึงสิทธิที่จะเข้าร่วม หรือปฏิเสธการเข้าร่วมองค์กร หรือสมาคมที่ทำหน้าเป็นตัวแทนให้กับพนักงาน
  3. พนักงานมีสิทธิที่จะเลือกตัวแทนจากองค์กรของตน และจัดกิจกรรม โดยปราศจากการแทรกแซงใดๆ และ บริษัทฯจะไม่เข้าไปแทรกแซงสิทธิของการมีเสรีภาพในการร่วมกลุ่ม โดยการเข้าควบคุมองค์กรของพนักงาน หรือโดยการให้สิทธิพิเศษแก่องค์องหนึ่งองค์กรใด
  4. กรณีที่มีสหภาพเพียงแห่งเดียวที่เป็นตัวแทนของพนักงาน บริษัทฯจะไม่เข้าไปแทรกแซงในการที่พนักงานจะจัดตั้งองค์กรอื่นๆขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของตนไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามและในกรณีที่ระบบกลุ่มความสัมพันธ์เชิงอุตสาหกรรม ได้กำหนดให้สหภาพใดๆก็ตาม เป็นตัวแทนการเจรจาต่อรองเฉพาะกิจ บริษัทฯจะไม่ขอที่จะเข้าร่วมในการเจรจา กับกลุ่ม หรือองค์กรของพนักงานอื่นๆในหัวข้อที่รวมอยู่ภายใต้ข้อตกลงทางการเจรจาต่อรองนั้น
สวัสดิการเบี้ยขยัน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติงานอันจะเป็นประโยชน์สุขร่วมกัน บริษัทฯจึงเห็นควรกำหนดระเบียบว่าด้วยสวัสดิการเบี้ยขยัน ค่าอาหาร ค่าเดินทางไว้ดังต่อไปนี้

  1. สวัสดิการเบี้ยขยัน
    พนักงานรายเดือน รายวัน ที่ผ่านการทดลองงาน 119 วัน มีสิทธิได้รับสวัสดิการเบี้ยขยันแบบเป็นขั้นบันได 300, 500, 700, 1,000 โดยกำหนดระเบียบปฏิบัติดังนี้

    1.1 พนักงานที่ปฏิบัติงานตามกฏระเบียบของบริษัท ฯ ต้องไม่ลา ไม่มาสาย ไม่ขาดงาน ภายในเดือนนั้นๆ

    1.2 พนักงานปฏิบัติงานที่มีความประพฤติที่ดีงานผ่านการพิจารณาของผู้จัดการ และ ผ่านการประเมิน และได้รับการบรรจุเข้าเป็นพนักงานของบริษัทฯ ตามกฏระเบียบของบริษัทฯ

  2. สวัสดิการค่าอาหาร ค่าเดินทาง
    พนักงานรายวัน มีสิทธิได้รับสวัสดิการ ค่าอาหาร ค่ากะ ตามเวลาทำงาน
นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ด้วยบริษัทฯมีความห่วงใยต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นควรให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ควบคู่ไปกับหน้าที่ประจำของพนักงาน โดยกำหนดนโยบายเพื่อให้ทุกฝ่ายดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังต่อไปนี้

  1. บริษัทฯถือว่าความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่รับผิดชอบอันดับแรกในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งตนเองและผู้อื่น
  2. บริษัทฯจะสนับสนุนและส่งสริมให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดีของพนักงาน
  3. บริษัทฯจะสนับสนุนส่งเสริมให้มีกิจกรรมความปลอดภัยต่างๆที่จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของพนักงาน เช่น การอบรมจูงใจ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านความปลอดภัย เป็นต้น
  4. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะต้องกระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ อบรม ฝึกสอน จูงใจให้พนักงานปฏิบัติงานตามระเบียบแห่งความปลอดภัยที่กำหนดขึ้นโดยเคร่งครัด
  5. พนักงานทุกคนต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง เพื่อนร่วมงานตลอดจนทรัพย์สินของบริษัทฯ เป็นสำคัญตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
  6. พนักงานทุกคนต้องยึดถือและปฏิบัติในโครงการความปลอดภัยอาชีวอนามัยของบริษัทฯและมีสิทธิเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงสภาพการทำงานและวีธีการทำงานให้ปลอดภัย
  7. พนักงานทุกคนต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่บริษัทฯจัดให้ขณะปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด บริษัทฯจะจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่กำหนดไว้ข้างต้นเป็นประจำ เพื่อควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  8. บริษัทฯ จะปฏิบัติตามกฏหมาย และกฏระเบียบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯและความต้องการของลูกค้า
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy)

บริษัทฯมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าและบริการอย่างมีคุณภาพ โดยให้ความสำคัญในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันและรักษาไว้ ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดี ดังนี้

  1. มีการควบคุม ป้องกัน บำบัด มลภาวะต่างๆ ได้แก่ น้ำ อากาศ ขยะ สารเคมี และเสียง รวมถึงการลดหรือเลิกใช้สาร ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการปฏิบัติงาน เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดี
  3. มีการทบทวนการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  4. ปฏิบัติตามกฏหมายและกฏระเบียบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯและความต้องการ ของลูกค้า อนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงานด้วยการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งจากการอุปโภค บริโภค การบำบัด การควบคุมปริมาณของเสีย และการนำกลับมาใช้ใหม่
  5. ให้การศึกษาและฝึกอบรมพนักงานทุกคน เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อม โดยถือว่าเป็นหน้าที่ ความรับผิดชอบของพนักงานทุกคน
  6. ให้มีการประชาสัมพันธ์ ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ผู้บริหารของบริษัทฯ จะส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินการต่างๆบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอโดยนโยบายสิ่งแวดล้อมนี้ จะถ่ายทอดให้กับพนักงานทราบ